วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

กินลมชมวิว ณ หาดสมิหลา สงขลา

หาดสมิหลา

          ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวสำหรับ "สงขลา" เพราะตลอดปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะชาวมาเลเซียที่มักเดินทางแวะเวียนมาสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั้งชายทะเล ทะเลสาบ ป่าไม้ และน้ำตก อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงการเดินทางมาช้อปปิ้งในอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ แต่วันนี้กระปุกดอทคอมจะชวนเพื่อน ๆ ไปเที่ยว "หาดสมิหลา" ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเมืองสงขลาก็ว่าได้ 

หาดสมิหลา

          หาดสมิหลา อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตลาดทรัพย์สิน (ตลาดสดเทศบาล) ประมาณ 2.5 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด ทิวสนอันร่มรื่น บริเวณชายหาดจะมีรูปปั้นนางเงือกอันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยรูปปั้นแมวและหนูที่บอกเล่าตำนานของเกาะหนูเกาะแมว โดยรอบบริเวณได้จัดสวนหย่อมไว้ดูร่มรื่นเหมาะเป็นที่นั่งพักผ่อนยามเย็น มีทางวิ่งออกกำลังกาย รวมทั้งจุดชมวิวที่มีทิวทัศน์ของ เกาะหนูเกาะแมว เป็นฉากหลัง

          เกาะหนูเกาะแมว เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของแหลมสมิหลา ที่มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า มีพ่อค้าชาวจีนผู้หนึ่งคุมเรือสำเภาเดินทางมาค้าขายระหว่างจีนกับสงขลาเป็นประจำ วันหนึ่งพ่อค้าผู้นี้ได้ซื้อหมากับแมวลงเรือไปเมืองจีนด้วย หมากับแมวอยู่บนเรือนาน ๆ เกิดความเบื่อหน่าย จึงปรึกษาหาวิธีการที่จะกลับบ้าน หมากับแมวได้ทราบว่าพ่อค้ามีดวงแก้ววิเศษที่ทำให้ไม่จมน้ำ แมวจึงคิดอุบายโดยให้หนูไปขโมยแก้ววิเศษของพ่อค้ามา และหนูขอหนีขึ้นฝั่งไปด้วย 

หาดสมิหลา

          ทั้งสามว่ายน้ำหนีลงจากเรือโดยที่หนูอมดวงแก้วเอาไว้ในปาก ขณะนั้นหนูนึกขึ้นได้ว่าถ้าถึงฝั่ง หมากับแมวคงจะแย่งเอาดวงแก้วไปจึงคิดที่จะหนี ฝ่ายแมวซึ่งว่ายตามหลังมาก็คิดเช่นกัน จึงว่ายน้ำรี่ไปหาหนู หนูตกใจว่ายน้ำหนีไม่ทันระวังตัว ดวงแก้ววิเศษที่อมไว้จึงตกลงจมหายไปในน้ำ หนูและแมวต่างก็หมดแรงจมน้ำตายกลายเป็น "เกาะหนูเกาะแมว" อยู่ที่อ่าวหน้าเมือง ส่วนหมาตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงฝั่งและสิ้นใจตายด้วยความเหน็ดเหนื่อย และกลายเป็นหินบริเวณ "เขาตังกวน" อยู่ริมอ่าวสงขลา ดวงแก้ววิเศษที่หล่นจากปากหนูแตกละเอียดกลายเป็น "หาดทรายแก้ว" อยู่ทางด้านเหนือของแหลมสน

การเดินทาง 

          จากอำเภอหาดใหญ่สามารถใช้บริการรถประจำทางสายหาดใหญ่-สงขลา แต่หากอยู่ในอำเภอเมืองก็มีรถสองแถวบริการไปชายหาด

ไปดู ทะเลแหวก Unseen Thailand

อ่าวนาง

ทะเลแหวก

ทะเลแหวก

ทะเลแหวก
ทะเลแหวก 
ทะเลแหวก

ทะเลแหวก
ทะเลแหวก
ทะเลแหวก

ทะเลแหวก
ทะเลแหวก

ทะเลแหวก
ทะเลแหวก
ทะเล


          ขึ้นชื่อว่า Unseen Thailand ก็คงจะไม่ธรรมดาหรอกจริงมั้ย และนี่คือสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ที่โดนการันตีเอาว่าเป็นสุดยอดแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย นั่นก็คือ ทะเลแหวก ในหมู่เกาะอันสวยงามของ จังหวัดกระบี่ ซึ่งกระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ เลียบเลาะชายฝั่ง ไปสัมผัสความมหัศจรรย์และความงามของ ทะเลแหวก กันค่ะ...

          ทะเลแหวก เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจาก อิทธิพลของน้ำขึ้นและน้ำลง ทำให้สันทรายของเกาะทั้ง 3 คือ เกาะทับ เกาะหม้อ และ เกาะไก่ ปรากฏขึ้นกลายเป็นหาดทรายขาว เชื่อมกันทั้งสามเกาะอย่างน่าอัจศจรรย์ โดยจะเกิดเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ทำให้สามารถเดินเล่น ไป - มา ได้ระหว่างเกาะ

 
ทะเลแหวก
 
 ทะเลแหวก

ทะเลแหวก
 
 ทะเลแหวก
          ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวคือช่วงเดือน ธันวาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี ด้วยหาดทรายที่ขาวสะอาด ทอดยาว ความสวยงามของทั้งสามเกาะนี้ จึงทำให้ ทะเลแหวก หลายเป็น Unseen Thailand อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย 

          นอกจากนี้ บริเวณ เกาะไก่ และ เกาะทับ ยังเป็นจุดดำน้ำตื้นที่น่าชม โดย เกาะไก่ เป็นจุดดำน้ำอยู่ที่บริเวณด้านทิศตะวันตก และที่ เกาะทับ มีแนวปะการังที่สวยงามอยู่ทางด้านทิศตะวันออก

ทะเลแหวก

ทะเลแหวก



การเดินทาง  

          ทะเลแหวก อยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร จากจังหวัดกระบี่ใช้ทางหลวงหมายเลข 4034 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 4202 ไป อ่าวนาง จาก อ่าวนาง จะมีเรือเช่าเหมาลำให้บริการพานักท่องเที่ยวไปเที่ยวชม ทะเลแหวก หรือ หมู่เกาะปอดะ ลำละประมาณ 1,000-1,500 บาท เรือนั่งได้ประมาณ 8-10 คน เนื่องจากการเดินทางไปยัง ทะเลแหวก ไม่มีเรือโดยสารแบบประจำทาง ต้องเช่าเรือเหมาลำเท่านั้น 

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

หมู่เกาะตะรุเตา




  “ตะรุเตา” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายู แปลว่า มีอ่าวมาก ตะรุเตา เป็นอุทยานแห่งชาติ ที่อยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติ ห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ในความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวทั่วไป เนื่องจากเป็นจุดรวมของ ความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ทั้งบนเกาะ และในน้ำ มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในน้ำก็งดงาม ด้วยกลุ่มปะการังหลากสี สวยสด จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วย เกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ รวมทั้งพื้นที่บนเกาะ และทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร
ถ้ำ
ถ้ำที่น่าสนใจมีอยู่หลายแห่ง เช่น ถ้ำดงอยู่ที่อ่าวฤาษี ถ้ำจระเข้ซึ่งเป็นถ้ำที่มีชื่อเสียงมาก ต้องนั่งเรือไปตามลำคลองมะละกาที่อ่าวพันเต ทางอุทยานฯ จัดเรือไว้บริการพาชมถ้ำต่างๆ
จุดชมวิว
ด้านหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีทางเดินป่าขึ้นหน้าผาโต๊ะบูที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 370 เมตร เพื่อชมทิวทัศน์ของเกาะบริเวณชายหาดและท้องทะเลอ่าวพันเตมะละกา ใช้เวลาเดินทางขึ้นหน้าผาประมาณ 20 นาที จุดชมวิวอีกแห่งหนึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการไปตามทางลูกรังเลียบชายฝั่งประมาณ 1.5 กม. จุดชมวิวจุดนี้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างอ่าวพันเตมะละกากับอ่าวจาก มีหน้าผายื่นออกไปในทะเล หินบริเวณนี้เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ อย่างสวยงาม
บ่ออนุบาลเต่าทะเล
เป็นบ่อที่เพาะเลี้ยงลูกเต่าทะเลที่เจ้าหน้าที่อุทยานเก็บรวบรวมมาจากชายหาดของเกาะต่างๆ เต่าที่พบในบริเวณอุทยานมี 3 ชนิดคือ เต่าตะนุ เต่ากระ และเต่าหญ้าตาแดง
สถานที่ดำน้ำดูปะการัง
สถานที่ดำน้ำในบริเวณเกาะตะรุเตามีหลายแห่ง เช่นที่บริเวณผาปาปิญอง (อุทยานแห่งชาติตั้งชื่อให้ตามชื่อภาพยนตร์เรื่องปาปิญอง ที่มาใช้สถานที่บริเวณนี้ถ่ายทำ) เป็นแหล่งดำน้ำระดับ 15 ฟุต นอกจากนี้ก็มีที่อ่าวสนและเกาะตะเกียง เกาะตะรุเตายังมีสถานที่ที่น่าสนใจอีก เช่น "ศูนย์นิทรรศการ" ซึ่งจัดแสดงรายละเอียดของสิ่งต่างๆ เช่น ซากสัตว์โบราณที่กลายเป็นหิน มีอายุอยู่ในสมัย 400-500 ล้านปีมาแล้ว รวมทั้งปะการังและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ
หาดทราย
เกาะตะรุเตามีชายหาดที่สวยงาม เล่นน้ำได้หลายหาด เช่น หาดทราย อ่าวพันเตมะละกา หน้าที่ทำการอุทยานฯ หาดทรายอ่าวเมาะและหาดทรายอ่าวสน ที่เป็นบริเวณให้นักท่องเที่ยวไปตั้งเต็นท์พักแรม และดำน้ำดูปะการังได้
น้ำตก
น้ำตกที่ค้นพบแล้วมีอยู่หลายแห่ง เช่น น้ำตกที่เกิดจากลำคลองลูลู มี 2 แห่ง น้ำตกที่เกิดจากคลองตะโละโป๊ะ มี 1 แห่ง ทั้ง 3 แห่งนี้อยู่ในบริเวณอ่าวสน นอกจากนี้ก็มีน้ำตกธารนักโทษที่อ่าวตะโละวาว
คลองมะละกา
อยู่ที่อ่าวพันเตมะละกา เป็นคลองที่มีขนาดใหญ่และมีความยาวมากที่สุด สามารถแล่นเรือเข้าไป เที่ยวชมได้เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร สภาพสองข้างทางเป็นป่าโกงกางสลับกับโขดหินผา น้ำในลำคลองเป็นน้ำกร่อย ในอดีตคลองมะละกาได้ชื่อว่ามีจระเข้ที่ดุร้ายอาศัยอยู่ชุกชุมมาก สิ่งที่น่าสนใจบริเวณคลองมะละกา นอกจากสภาพภูมิประเทศที่สวยงามแล้ว บริเวณต้นน้ำมีถ้ำน้ำดั้นถึง 3 แห่ง เป็นถ้ำที่มีน้ำไหลลอดออกมาจากภายในถ้ำลงสู่ลำคลอง ถ้ำที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่ ถ้ำจระเข้ ซึ่งเป็นถ้ำที่ลึกลับวิจิตรสวยงามของหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกตา อันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินภายในถ้ำและยังมีผู้นำทางทำให้เกิดความสะดวกสบาย
การเดินทางสามารถเดินทางไปโดยติดต่อเรือหางยาวบริเวณหน้าที่ทำการอุทยานฯ หรือนั่งเรือไปตามลำคลองมะละกาที่อ่าวพันเต ซึ่งทางอุทยานฯ ได้จัดเรือไว้บริการพาชมถ้ำต่างๆ
สถานที่ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการราชทัณฑ์บนเกาะตะรุเตา
มี 3 แห่ง คือ บริเวณเรือนจำอ่าวตะโละอุดัง ซึ่งเป็นอ่าวใต้สุดของเกาะตะรุเตา และที่เรือนจำอ่าวตะโละวาว ซึ่งเป็นค่ายกักกันนักโทษการเมืองและนักโทษสามัญ ตั้งอยู่ทางทิศใต้และทางฝั่งตะวันออกของเกาะ นอกจากนี้ยังมีทางรถยนต์ประวัติศาสตร์ ขนาด 6 เมตร ที่นักโทษถางไว้เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอ่าวตะโละวาวและอ่าวตะโละอุดัง ระยะทางประมาณ 12 กม.

หมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

      อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นหมู่เกาะในอ่าวไทยท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากเกาะสมุยและเกาะพะงันไปทางทิศตะวัน ตกประมาณ 20 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 40 เกาะ ตามเกาะต่างๆ จะมีหาดทรายอยู่เกือบทุกเกาะ บางเกาะหาดทรายมีสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ บางเกาะมี ปะการังตามชายทะเลหลายชนิด สีสวยงามหลากสี อยู่ท่ามกลางความเงียบสงบ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองมีเนื้อที่ประมาณ 63,750 ไร่ หรือ 102 ตารางกิโลเมตร 
       บริเวณหมู่เกาะอ่างทองแต่เดิมเป็นพื้นที่หวงห้ามของกองทัพเรือซึ่งมีโครงการจะสร้างฐานทัพเรือเพื่อควบคุมความปลอดภัยของประเทศทางด้านอ่าวไทย แต่ด้วยมี ทิวทัศน์สวยงาม ทะเลสาบ หน้าผา ถ้ำทะลุ เกาะรังนกนางแอ่น นกนานาชนิด และแนวปะการัง เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ปลานานาชนิด ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ตรี กองอุทยานแห่งชาติ ได้เขียนบทความสารคดีเรื่อง “หมู่เกาะอ่างทอง อุทยานแห่งชาติทางทะเล” ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2518 สรุปสาระสำคัญว่า ควรจัดหมู่เกาะอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ประกอบกับกอง อุทยานแห่งชาติได้มีโครงการอยู่แล้วเช่นกัน และคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 ให้กรมป่าไม้พิจารณา จัดหมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอีกแห่งหนึ่ง 
     

     อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นหมู่เกาะในอ่าวไทยท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากเกาะสมุยและเกาะพะงันไปทางทิศตะวัน ตกประมาณ 20 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 40 เกาะ ตามเกาะต่างๆ จะมีหาดทรายอยู่เกือบทุกเกาะ บางเกาะหาดทรายมีสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ บางเกาะมี ปะการังตามชายทะเลหลายชนิด สีสวยงามหลากสี อยู่ท่ามกลางความเงียบสงบ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ 

      1. เกาะท้ายเพลาและเกาะวัวกันตัง เป็นจุดที่มีแนวปะการังและหาดทรายขาวสะอาด 

      2. เกาะวัวตาหลับอยู่บริเวณอ่าวคาเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ด้านหน้าของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นหาดทรายขาวสะอาดเหมาะแก่การเล่นน้ำ นอนเล่น พักผ่อนริมหาด เมื่อขึ้นไปจุดชมทิวทัศน์บนยอดเขา ระยะทางประมาณ 500 เมตร จะมองเห็นหมู่เกาะอ่างทองทั้งหมดที่ทอดตัวเรียงรายเป็นแนวยาวด้วยรูปร่างต่างๆ แปลกตา นอกจากนี้ยังมี ถ้ำบัวโบก ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นแหล่งที่มีความแปลกและเด่นทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะ หินงอกหินย้อยรูปร่างสวยงามดูคล้ายดอกบัวบาน 

      3. เกาะสามเส้า ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเกาะแม่เกาะ เป็นแหล่งปะการังที่สวยงาม และมีสะพานหินธรรมชาติที่ยื่นโค้งออกไปในทะเล มีหาดทรายขาวสะอาดเหมาะแก่การตั้ง แค็มป์พักแรมและว่ายน้ำชมปะการัง 

      4. เกาะหินดับ เป็นเกาะที่มีหาดทรายที่สวยงามและชายหาดที่ยาวที่สุดในอุทยานแห่งชาติ สภาพภูมิประเทศและทัศนียภาพรอบเกาะสวยงามน่าชม 

      5. ทะเลใน หรือทะเลสาบกลางภูเขา อยู่บนเกาะแม่เกาะ เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยเทือกเขาหินปูนที่สูงสลับ ซับซ้อนแต่มีอุโมงค์ใต้น้ำที่ เชื่อมต่อกับทะเล การกำเนิดของทะเลสาบน้ำเค็มนี้ได้มีการสันนิษฐานว่า เกิดจากการยุบตัวของหินชั้นล่างทำให้เกิดบ่อยุบ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับหมู่เกาะ หรืออาจเกิด จากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในกระบวนการเดียวกับการเกิดถ้ำ 

      6. อ่าวหน้าทับ-ถ้ำร้าง มีหาดทรายสวยขาวสะอาด มีชายหาดยาว บรรยากาศเงียบสงบ 

      7. เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ทางเดินศึกษาธรรมชาติทางเรือ จำนวน 2 เส้น ชื่อ เส้นทางศึกษาธรรมชาติทางน้ำ โดยเรือแคนู บริเวณรอบเกาะผี ระยะทางประมาณ 600 เมตร และบริเวณระหว่างชายหาดอ่าวคา–ชายหาดหน้าทับ ระยะทางประมาณ 2,200 เมตร 

      8. เส้นทางศึกษาธรรมชาติ "ดำน้ำ" - เส้นทางดำน้ำแบบดำผิวน้ำ จำนวน 3 เส้นชื่อ เส้นทางศึกษาธรรมชาติสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ บริเวณเกาะท้ายเพลา ระยะทางประมาณ 200 เมตร บริเวณเกาะสามเส้า ระยะทางประมาณ 150 เมตร บริเวณอ่าวคา เกาะวัวตาหลับ ระยะทางประมาณ 150 เมตร 

      9. เส้นทางศึกษาธรรมชาติ "ถ้ำบัวโบก" - ถ้ำบัวโบก เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางสองของเกาะวัวตาหลับ เดินทางจากหน้าหาดอ่าวคา มีระยะทางประมาณ 300 เมตร เดินไป-กลับ ประมาณ 1 ชั่วโมง จุดแรก ระยะทางประมาณ 80 เมตร สามารถมองเห็นชายหาดอ่าวคาที่มีหาดทรายขาวสะอาด และมองเห็นหมู่เกาะอ่างทองโดยรอบ จุดที่สอง ระยะทางประมาณ 200 เมตร ถึงปากถ้ำบัวโบก จุดที่สาม ระยะทางประมาณ 220 เมตร ภายในถ้ำบัวโบก จุดที่สี่ 

      10. เส้นทางศึกษาธรรมชาติ จุดชมวิวผาจันทร์จรัส เกาะวัวตาหลับ - จุดชมวิวผาจันทร์จรัส มีจุดวิวชม จุดแรก จุดชมวิวสลัดได 100 เมตร สามารถมองเห็นชายหาดทราย ขาวสะอาด มองเห็นเกาะผีได้อย่างชัดเจน จุดที่สอง จุดชมวิว 200 เมตร มองเห็นเกาะโดยรอบได้เกือบทั้งหมด จุดทีสาม จุดชมวิว 350 เมตร สามารถสัมพันธ์ทัศนียภาพ ของหมู่เกาะอ่างทองได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น จุดที่สี่ ขุดชมวิว 500 เมตร ถึงจุดนี้ เมื่อมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบก็หายเหนื่อยเลยที่เดียว เป็นจุดที่สูงที่สุด 

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

เที่ยวหมู่เกาะสุรินทร์ สูดกลิ่นทะเลแสนงาม

หมู่เกาะสุรินทร์


      อากาศร้อน ๆ แบบนี้ เชื่อว่าหลายคนอาจกำลังวางแผนไปท่องเที่ยวชายทะเล เดินเล่นโต๋เต๋ริมหาดหวังดับร้อน (ทั้งกายและใจ) กันอยู่ใช่ไหม ว่าแล้วจะช้าอยู่ใย . . . เราไปดูสถานที่ท่องเที่ยวที่รับรองว่าจะต้องโดนใจเพื่อน ๆ กันเลยดีกว่า . . . 
      วันนี้เราขอแนะนำให้รู้จักกับ "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์" สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตติดลมบนคนชอบท่อง (เที่ยว) ทะเล . . . "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์" อยู่ที่จังหวัดพังงา เป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามันห่างจากฝั่งไปทางทิศตะวันตกประมาณ 70 กิโลเมตร อยู่ติดกับเขตชายแดนไทย - พม่า มีพื้นที่ประมาณ 84,375 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่บนบกประมาณ 20,594 ไร่ ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) และเกาะรี (เกาะสต๊อก) 
      ทั้งนี้ "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์" จัดเป็นหมู่เกาะที่มีแนวปะการังน้ำตื้นที่สมบูรณ์สวยงามมาก ๆ มีปลาสีสันต่างๆ มากมาย เหมาะสำหรับชมปะการังน้ำตื้น โดยเฉพาะเกาะไข่ ส่วนบริเวณที่เหมาะจะดำน้ำลึก คือ กองหินริเชลิว อยู่ห่างจากเกาะสุรินทร์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 10 กิโลเมตร เป็นแหล่งที่สมบูรณ์ด้วยธรรมชาติใต้ทะเล มีปลาหลายพันธุ์ ปะการังสีสวย และเป็นจุดที่มีโอกาสพบ "ฉลามวาฬ" ที่ได้ชื่อว่าเป็นยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเลมาว่ายให้เห็นอยู่เสมอ (ว้าว...) 
      แต่ช่วงเวลาที่เหมาะจะเดินทางท่องเที่ยว คือ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน ส่วนเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคมนั้น เป็นช่วงที่มีลมมรสุม ฝนตกชุก คลื่นลมแรง ไม่เหมาะจะมาท่องเที่ยวค่ะ   
     เอาล่ะ!! ได้เวลาไปดูกันแล้วว่าที่ "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์" มีสถานที่ท่องเที่ยวไหนน่าสนใจบ้าง... 

           เริ่มกันที่ . . . "เกาะสุรินทร์เหนือ" และ "เกาะสุรินทร์ใต้" เป็นเกาะที่อยู่ติดกันโดยมีร่องน้ำคั่นกลาง มีอ่าวทั้งเล็กและใหญ่กระจายอยู่รอบเกาะ ทุกอ่าวมีความสวยงามของหาดทรายและน้ำทะเลแตกต่างกันไป เกาะสุรินทร์เหนือ เป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพัก ที่กางเต็นท์ และมีเรือหางยาวให้เช่าเที่ยวตามเกาะต่าง ๆ เรียกได้ว่าครบวงจรกันเลยทีเดียว
           ต่อกันที่ "อ่าวไทรเอน" อยู่ทางตะวันออกของเกาะสุรินทร์เหนือ เป็นอ่าวที่มีชาวเล หรือมอแกน ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่ยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม กินนอนอยู่ในเรืออาศัยอยู่ นับถือเทวรูปอินเดียนแดง ซึ่งแกะสลักด้วยท่อนไม้ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเล ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนเมษายนของทุกปี ชาวเลจะมาชุมนุมเพื่อไหว้ผีที่ตนเคารพนับถือ โดยงานจะจัดเป็นเวลา 3 วัน   
           "อ่าวลึก" อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุรินทร์เหนือ มีปะการังน้ำตื้น สาหร่ายทะเล ดอกไม้ทะเล กัลปังหา ฝูงปลาการ์ตูน และฝูงปลาหลากชนิดสีสันสวยงาม ส่วน "อ่าวจาก" อยู่ทางทิศเหนือของเกาะสุรินทร์เหนือ มีหาดทรายขาวละเอียดสะอาด เป็นจุดดำน้ำตื้นที่มีแนวปะการังที่สวยงามสมบูรณ์

           หรือจะเลือกไปเที่ยว "อ่าวไม้งาม" ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะสุรินทร์เหนือ เป็นอ่าวใหญ่ ชายหาดยาวโค้ง มีแนวปะการังที่สวยงามและปลาหลากสีหลายพันธุ์ นอกจากนั้น ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่าวไม้งาม เดินผ่านป่าดงดิบเลียบชายหาด มีป้ายสื่อความหมาย ระยะทาง 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง จะพบพืชพรรณนานาชนิด สัตว์ป่าต่างๆ เช่น กระจง บ่าง นกที่หาดูได้ยาก ได้แก่ นกชาปีไหน นกลุมพูขาว... คนชอบศึกษาธรรมชาติ พลาดไม่ได้เด็ดขาด 

           "อ่าวบอน" อยู่ทางตะวันออกของเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นที่อยู่ของชาวมอแกนหรือชาวเลอีกกลุ่มหนึ่ง ส่วน "อ่าวเต่า" อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสุรินทร์ใต้ มีเต่าทะเลอาศัยจำนวนมากบริเวณใกล้แนวปะการัง เป็นอ่าวที่เหมาะจะดำน้ำตื้น เพราะมีปะการังอ่อน และกัลปังหา "อ่าวผักกาด" อยู่ทางทิศใต้ของเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นจุดดำน้ำตื้นที่มีแนวปะการังเขากวาง เป็นอ่าวที่ดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก "อ่าวสุเทพ" อยู่ทางเหนือของเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นอ่าวที่มีปะการังสมบูรณ์ เหมาะสำหรับดำน้ำตื้น 
          "เกาะปาจุมบา" หรือ "เกาะกลาง" อยู่ทางเหนือของเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นพื้นที่สงวนสำหรับอนุรักษ์เต่าทะเล บริเวณนี้น้ำไม่ลึก ยกเว้นด้านเหนือของเกาะ มีแต่กองหินในน้ำ ไม่มีปะการังอ่อนหรือกัลปังหา บางครั้งมีกระแสน้ำรุนแรง ไม่เหมาะสำหรับการดำน้า  

            ปิดท้ายกันที่ "เกาะไข่" หรือ "เกาะตอริลลา" อยู่ทางใต้ของเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นจุดดำน้ำชั้นยอดของหมู่เกาะสุรินทร์ มีแนวปะการังและกองหินใต้น้ำสลับกัน และยังมีปลาสวยงามหลากหลายชนิด เหมาะแก่การดำน้ำตื้นหรือดำน้ำลึก แต่เนื่องจากบริเวณนี้มีกระแสน้ำค่อนข้างแรง และไหลวนในบางครั้ง นักดำน้ำจึงควรมีความระมัดะระวังในระหว่างการดำน้ำ

          เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ที่ "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์" มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจเยอะแยะมากมายเลยใช่ไหมล่ะ หากว่าอากาศมันร้อนนัก เราก็ควรหยุดพักไปหาสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนบ้าง... "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์" ยินดีต้อนรับค่ะ

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

เที่ยวเพลิน ๆ รับลมทะเลเย็น ๆ ณ เกาะลันตา

เกาะลันตา

เกาะลันตา

          เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งเกาะที่นักเดินทางผู้หลงใหลความงามของท้องทะเลอยากไป สัมผัสกับความงาม ที่แฝงไว้ด้วยสงบและเรียบง่าย ใช่แล้ว! เรากำลังเอ่ยถึง "เกาะลันตา" เกาะที่หลบซ่อนสายตาผู้คนอยู่ท่ามกลางท้องทะเลสีคราม และวันนี้กระปุกท่องเที่ยวก็ขอพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ เกาะลันตา ให้มากขึ้น ไปดูสิว่ามีอะไรให้ไปเที่ยวบ้าง

          เกาะ ลันตา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกระบี่ โดยเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีผู้คนอาศัยต่อเนื่องมายาวนานกว่าร้อยปี ประกอบด้วย เกาะลันตาใหญ่ และ เกาะลันตาน้อย แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่บน เกาะลันตาใหญ่ ขณะที่ เกาะลันตาน้อย เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเกาะลันตา ด้วยระยะทางที่ห่างไกลจากแผ่นดิน เกาะลันตาจึงยังคงความสวยงามของหาดทรายและน้ำทะเลสะอาด อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตของชาวเกาะดั้งเดิม ที่มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยจีน ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยใหม่ (ชาวเล) อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ผสานกับความเจริญทางด้านหัวเกาะแถบท่าเรือและชายหาดฝั่งตะวันตก ซึ่งคึกคักด้วยนักท่องเที่ยว การมาเยือนเกาะลันตาจึงได้เที่ยวหลายบรรยากาศในคราวเดียวกัน

เกาะลันตา

ประวัติ

          "ลันตา" เป็นชื่อเกาะขนาดใหญ่ มีรูปร่างเรียวยาว พื้นที่ 472 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ชื่อ "ลันตา" สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "ลันตาส" ซึ่งเป็นภาษาชวา แปลว่า ที่ย่างปลา เพราะในอดีตเกาะใหญ่แห่งนี้เป็นที่ที่ชาวเรือชวามักมาหยุดพักและย่างปลาเป็น อาหาร แล้วต่อมาเกาะนี้ก็เปลี่ยนฐานะมาเป็นเมืองท่าที่ชาวจีนและชาวอาหรับผู้แล่น เรือค้าขายในน่านน้ำภูเก็ต ปีนัง สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย แวะขึ้นมาพักและทำการค้าขาย จนในที่สุดก็กลายเป็นชุมชนคึกคัก

          สำหรับ เกาะลันตา ประกอบด้วย เกาะลันตาใหญ่ และ เกาะลันตาน้อย โดยมีเกาะกลางคั่นอยู่ระหว่าง 2 เกาะนี้ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดอยู่บน เกาะลันตาใหญ่ มียาวประมาณ 30 กิโลเมตร กว้างประมาณ 6 กิโลเมตร โดดเด่นด้วยชายหาดยาวเรียงรายต่อเนื่องกันถึง 13 หาดทางฝั่งตะวันตก มีทั้งหาดหินและหาดทราย เพียบพร้อมด้วยที่พักหลากสไตล์ หลายราคา ส่วนทางฝั่งตะวันออกคือ ชุมชนโบราณ ชื่อบ้านศรีรายา ซึ่งตั้งมากว่าร้อยปี มีเสน่ห์ด้วยเรือนแถวไม้หน้าแคบที่ยื่นยาวลึกออกไปในทะเล และวิถีชีวิตสงบงามของชาวไทย-จีน ชาวไทย-มุสลิม ที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

          ยังไม่หมดเท่านั้น เพราะบน เกาะลันตาใหญ่ ยังมีจุดเด่นอยู่ที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ตั้งอยู่ที่แหลมโตนด ตรงปลายเกาะ เป็นพื้นที่ที่สมบูรณ์ด้วยผืนป่าดงดิบ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ และที่โดดเด่นที่สุดคือ ประภาคารสีขาว ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเกาะลันตา

          และอีกจุดเด่นหนึ่งคือ หมู่บ้านชาวเล หรือชาวไทยใหม่ ชื่อบ้านสังกาอู้ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะ เป็นชุมชนของชาวเลเผ่าลูโมะลาโว้ย ที่คนไทยภาคกลางเรียกว่า อูรักลาโว้ย พวกเขาตั้งถิ่นฐานบนเกาะลันตามานานหลายชั่วอายุคน อีกทั้งเกาะลันตายังเปรียบได้ดั่งเมืองหลวงของชาวเล ส่วนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นบริษัททัวร์ ร้านดำน้ำ ธนาคาร ร้านอาหาร ร้านบริการอินเทอร์เน็ต ร้านเช่ามอเตอร์ไซค์ ร้านขายของที่ระลึก ฯลฯ มีเพียบพร้อมอยู่ที่บ้านศาลาด่าน

เกาะลันตา

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ณ เกาะลันตา ได้แก่...

          อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

          อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีเนื้อที่ประมาณ 134 ตารางกิโลเมตร ในอำเภอเกาะลันตา ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตาใหญ่ เกาะลันตาน้อย เกาะตะละเบ็ง และเกาะใกล้เคียง รวมไปถึงหมู่เกาะห้า เกาะรอกนอก เกาะรอกใน และเกาะไหง

          เกาะที่น่าท่องเที่ยวของอุทยานฯ ได้แก่ เกาะลันตาน้อย เป็นเกาะที่เป็นชุมชนของชาวเกาะลันตาในอดีตมาก่อน มีที่ว่าการอำเภอ มีโรงเรียนวิถีชีวิตแบบเก่า ๆ บ้านเรือนโบราณยังมีให้พบเห็น         

          เกาะลันตาใหญ่ มีรูปร่างยาวเรียวจากเหนือมาใต้ ศูนย์กลางธุรกิจของเกาะอยู่ที่บริเวณท่าเรือศาลาด่าน ซึ่งมีทั้งบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธนาคาร ด้านตะวันตกเรียงรายไปด้วยชายหาดและอ่าวที่สวยงามมากมาย ได้แก่ หาดคอกวาง หาดโละบารา หาดพระแอะ หาดคลองโขง หาดคลองนิน และมีถนนตัดจากท่าเรือตอนเหนือผ่านชายหาดต่าง ๆ ไปจนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ซึ่งอยู่ตอนใต้สุดของเกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่บนเกาะมีสภาพเป็นทิวเขาสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าที่สมบูรณ์ ส่วนด้านตะวันออกมีชุมชนเก่าของเกาะลันตาเนื่องจากเคยเป็นที่ตั้งของที่ว่า การอำเภอมาก่อน ซึ่งย้ายไปอยู่ที่เกาะลันตาน้อย ชาวบ้านส่วนใหญ่บนเกาะลันตานับถือศาสนาอิสลาม และที่บ้านสังกะอู้ยังมีชนพื้นเมืองที่ยังคงยึดถือวัฒนธรรมประเพณี ได้แก่ ประเพณีลอยเรือ

แหลมโตนด

          ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยานฯ มี จุดชมวิวแหลมโตนด ซึ่งเป็นที่ตั้งของประภาคาร จากมุมนี้สามารถมองเห็นโค้งอ่าวกรวดและอ่าวหาดทรายขาวสะอาดมาบรรจบกัน ตอนปลายสุดของแหลมเป็นที่ตั้งของ เกาะหม้อ เป็นจุดดำดูปะการังน้ำลึก นอกจากจุดชมวิวแหลมโตนดแล้ว ยังมีจุดชมวิวบนยอดเขาบริเวณตอนกลางเกาะ ที่มีร้านอาหารสามารถนั่งรับประทานอาหารพร้อมกับชมทิวทัศน์ของทะเลอันดามัน ที่มีเกาะต่าง ๆ อยู่ท่ามกลางผืนน้ำสีน้ำเงิน

เกาะตะละเบ็ง

          เกาะตะละเบ็ง อยู่ระหว่างท่าเรือคลองม่วง-เกาะลันตา เป็นเกาะที่มีลักษณะเป็นหินปูน คล้ายเกาะพีพีเล มีชายหาดเล็ก ๆ และโพรงถ้ำซึ่งจะโผล่ให้เห็นได้เฉพาะเวลาน้ำลง มีนกนางแอ่นอาศัยอยู่บนเกาะด้วย ในกลุ่มนี้จะมีเกาะผีซึ่งอยู่ไปทางทิศเหนือ และยังเป็นที่สามารถพายเรือแคนูได้

          เกาะรอกใน เป็น ที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์ย่อยของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เป็นเกาะที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ด้านทิศตะวันออกมีหาดทราย และแนวปะการังเป็นกลุ่ม ๆ ตามโขดหิน ด้านทิศเหนือของเกาะมีแหลมธงและอ่าวศาลเจ้า ผืนทรายที่เกาะรอกในละเอียดขาวเนียน น้ำทะเลใสเป็นสีเขียวจนมองเห็นปลาหลากสีสัน เป็นความบริสุทธิ์ของธรรมชาติที่ยังไม่มีใครเดินทางมาสัมผัสมากนัก บนเกาะยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติให้ได้เดินออกกำลังกายดูพันธุ์ไม้ ต่าง ๆ ได้อีกด้วย สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะพักค้างแรมบนเกาะ ที่นี่มีที่พื้นสำหรับกางเต็นท์ สนใจสอบถามข้อมูลได้จากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

เกาะรอก

          เกาะรอกนอก ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้ มีหาดทรายขาวละเอียด และแนวปะการังน้ำตื้น ด้านท้ายเกาะมีหาดทะลุและอ่าวม่านไทร ส่วนการเดินทางไปเกาะรอกนิยมเช่าเรือจากท่าเรือปากเมง ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง หรือใช้บริการนำเที่ยวด้วยเรือเร็วจากเกาะลันตา สามารถติดต่อได้จากบริษัททัวร์หรือสถานที่พักบนเกาะลันตาใหญ่ ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้เช่าเรือหางยาวเดินทางไปเกาะรอกเนื่องจากระยะทางไกล อาจไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะในวันที่สภาพอากาศไม่ดี

          เกาะไหง ทางทิศตะวันออกของเกาะ ประกอบด้วยหาดทรายยาว และมีปะการังด้านหน้าหาด นับเป็นแหล่งดูปะการังน้ำตื้นที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง การเดินทางสามารถเช่าเรือจากท่าเรือปากเมง จังหวัดตรังได้

          หินแดง เป็นหินโสโครกอยู่ฝั่งด้านนอกของทะเลอันดามัน มีปะการังชนิดต่างๆ  ที่สวยงามเหมาะสำหรับการดำน้ำ

ตุกนลิมา

          เกาะห้า (ตุกนลิมา) ซึ่ง ตุกนลิมา แปลว่า กองหินห้าลูก เป็นกลุ่มเกาะ 5 เกาะ เกาะห้าใหญ่จะมีลักษณะของทุ่งหญ้าอยู่บนสันเกาะ มีเกาะรูปคล้ายใบเรือ เป็นเกาะที่มีน้ำลอดได้ และเมื่อขึ้นอยู่บนสันเกาะจะมีมุมทิวทัศน์ที่สวยงาม กลุ่มเกาะห้าเป็นจุดดำน้ำที่มีชื่อเสียงอีกเกาะหนึ่งของเกาะลันตา สัตว์ที่น่าสนใจ คือ กระเบนราหู โดยทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศปิดการท่องเที่ยวบริเวณเกาะห้า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม - 30 พฤศจิกายน ของทุกปี

          อย่างไรก็ตาม บนเกาะลันตาใหญ่มีที่พักและร้านค้าเปิดให้บริการมากมาย ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม นักท่องเที่ยวที่ต้องการพักค้างแรมในบริเวณที่ทำการอุทยานฯ ควรติดต่อล่วงหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา โทรศัพท์ 0 7566 0711-2 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทรศัพท์ 0 2562 0760 และเว็บไซต์ park.dnp.go.th

ชุมชนศรีรายา

          ชุมชนศรีรายา

          ชุมชนโบราณบ้านศรีรายา ตั้งมากว่าร้อยปี มีเสน่ห์ด้วยเรือนแถวไม้หน้าแคบที่ยื่นยาวลึกออกไปในทะเล และวิถีชีวิตสงบงามของชาวไทย-จีน ชาวไทย-มุสลิม ที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

บ้านรองแง็ง

          บ้านรองแง็ง หอชาติพันธ์ลูโมะลาโว้ย

          สถานที่แสดงวิถีชีวิตของชาวเลกลุ่มเผ่าลูโมะลาโว้ย และเป็นสถานที่สำหรับจัดประชุมของคนในชุมชน

บ้านสังกาอู้

          บ้านสังกาอู้

          หมู่บ้านชาวเล หรือชาวไทยใหม่ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะ เป็นชุมชนของชาวเลเผ่าลูโมะลาโว้ย ที่คนไทยภาคกลางเรียกว่าอูรักลาโว้ย พวกเขาตั้งถิ่นฐานบนเกาะลันตามานานหลายชั่วอายุคน เกาะลันตาเปรียบได้ดั่งเมืองหลวงของชาวเล ทุกคืนเพ็ญเดือน 6 และคืนเพ็ญเดือน 11 จะมีพิธีลอยเรือ เพื่อสะเดาะเคราะห์และเสี่ยงทาย

แหลมโตนด

ทิปส์ท่องเที่ยว

          การ ขับรถยนต์ไปเที่ยวเกาะลันตา แนะนำให้ลงเฟอร์รีเที่ยวเช้าสุด (ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ) เพราะเฟอร์รีออกตรงเวลา สำหรับเที่ยวหลัง ๆ นั้นอาจล่าช้าจากกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะเที่ยวท้าย ๆ ที่มักจะล่าช้าสะสมมาจากเที่ยวก่อน ๆ

          เดิน เที่ยวชมเมืองเก่าศรีรายา ถ้าไปในช่วงต้นเดือนมีนาคม จะได้ร่วมงานประเพณีลานตา ลันตา ที่มีการแสดงพื้นเมือง เช่น รำร็องเง็ง เป็นต้น

          อ่าว นุ้ยเป็นอ่าวที่ค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัว ต้องจอดมอเตอร์ไซค์ไว้ข้างทาง แล้วเดินลงเขา ทางค่อนข้างชัน แต่เมื่อลงไปถึงอ่าวนุ้ยแล้ว จะรู้ว่าคุ้มค่าต่อการเดินลงมา อย่าลืมเตรียมแว่นกันแดด โลชั่นกันแดด หมวกปีกกว้างไปด้วย

          แนะ นำให้ซื้อทริปไปเที่ยวเกาะรอก หรือไปดำสน็อกเกิลที่ 4 เกาะเด่นของตรัง คือ เกาะไหง เกาะเชือก เกาะกระดาน และเกาะมุก ปกติแล้วเป็นทริปแบบไปเช้าเย็นกลับ แต่ถ้าไปเกาะรอก ควรค้างสักคืน โดยนัดเรือให้มารับกลับในวันรุ่งขึ้น ติดต่อได้ที่บริษัททัวร์ในละแวกศาลาด่าน

          สำหรับคนที่ชอบดำน้ำ อย่าพลาดการไปดำสกูบาที่หินม่วง หินแดง เกาะรอก เกาะห้าใหญ่ ติดต่อซื้อทริปได้ที่ร้านดำน้ำในย่านศาลาด่าน

แหลมโตนด

การเดินทาง

          เกาะลันตาอยู่ห่างจากเมืองกระบี่ประมาณ 70 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่เกาะลันตาได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถตู้ และเรือโดยสาร

          โดยรถยนต์

          จากกรุงเทพฯ ต้องขับรถไปยังท่าเรือหัวหิน จังหวัดกระบี่ เพื่อข้ามแพขนานยนต์ไปเกาะลันตา โดยเริ่มต้นจากการใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จนถึงจังหวัดชุมพร แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร สู่อำเภอไชยา อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 4035 ถึงอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ แล้ววกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองกระบี่ ระยะทางประมาณ 814 กิโลเมตร

          เมื่อถึงเขตเมืองกระบี่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม ถึงประมาณหลักกิโลเมตรที่ 64 แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 4206 สู่บ้านหัวหิน ซึ่งเป็นจุดลงแพขนานยนต์ไปยังเกาะลันตาใหญ่ ต้องลงแพขนานยนต์ 2 ช่วง คือ บ้านหัวหิน-เกาะลันตาน้อย และเกาะลันตาน้อย-เกาะลันตาใหญ่ ค่าข้ามแพ 2 ช่วง รถยนต์ คันละ 100 บาท รวมคนขับ ผู้โดยสาร คนละ 20 บาท

          โดยรถประจำทาง

          จากกรุงเทพฯ ต้องนั่งรถไปลงที่กระบี่ มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-กระบี่ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11-12 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทรศัพท์ 1490 หรือเว็บไซต์ www.transport.co.th

          เมื่อลงรถที่สถานีขนส่งกระบี่แล้ว รอรถตู้ไปเกาะลันตาที่สถานีขนส่ง สำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทางด้วยรถประจำทาง ต้องไปขึ้นรถตู้ที่คิวรถกระบี่-ลันตา ถนนมหาราช ซอย 6 ควรโทรศัพท์จองที่นั่งและนัดแนะเวลาขึ้นรถล่วงหน้าที่ โทรศัพท์ 0 7562 2197 (กระบี่) หรือโทรศัพท์ 0 7569 7053 (เกาะลันตา) รถออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 07.00-15.00 น.ทั้งนี้ รถตู้จะแล่นไปส่งนักท่องเที่ยวถึงที่พักจนสิ้นสุดปลายทางที่บ้านศรีรายา ในเที่ยวกลับควรโทรศัพท์นัดเวลามารับที่ที่พัก และต้องเผื่อเวลาเดินทางกลับถึงกระบี่ไว้ราว ๆ 3 ชั่วโมง เพราะอาจต้องรอลงแพขนานยนต์นานเป็นชั่วโมง

          โดยเครื่องบิน

          เครื่องบินจากกรุงเทพฯ ไปกระบี่ โดยการบินไทย นกแอร์ และแอร์เอเชีย ดังนี้...

          การบินไทย โทรศัพท์ 0 2356 1111 หรือ www.thaiairways.com
          นกแอร์ โทรศัพท์ 1318 หรือ www.nokair.com
          แอร์เอเชีย โทรศัพท์ 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com

          จากท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ไปเกาะลันตา วิธีที่สะดวกที่สุดคือเช่ารถจากบริษัทต่าง ๆ ที่ตั้งบูธอยู่ภายในอาคารท่าอากาศยาน หรือหากจองที่พักบนเกาะลันตาไว้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีรถมารับที่ท่าอากาศยาน

          การเดินทางภายในเกาะลันตา

          ถ้าไม่ได้ขับรถไปเอง เมื่อไปถึงลันตาควรเช่ามอเตอร์ไซค์ขี่เที่ยว เพราะบนเกาะไม่มีรถสองแถว เช่ามอเตอร์ไซค์ได้ที่ร้านแถวศาลาด่าน ค่าเช่าวันละ 150 - 250 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนวันเช่า ทั้งนี้ เกาะลันตามีถนนรอบเกาะเส้นหลักเส้นเดียว สภาพดี ลาดยางตลอดเส้น ไปจนถึงอ่าวบากันเตียง จากนั้นจึงเป็นทางลูกรังไปจนใกล้ถึงแหลมโตนด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา สภาพเส้นทางมีหินลอย ขึ้นลงเขาชัน ข้างทางเป็นหุบเหว หากจะขี่มอเตอร์ไซค์ไปเที่ยวต้องมั่นใจในฝีมือการควบคุมรถของตัวเองอย่างมาก แต่เมื่อผ่านด่านเก็บค่าธรรมเนียมไปแล้ว เป็นทางลาดยางตลอด 2 กิโลเมตร จนถึงที่ทำการอุทยานฯ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถเหมาเรือหางยาวท่องเที่ยวและดำน้ำรอบเกาะได้ คิดราคาต่อวัน/ครึ่งวัน หรือแล้วแต่ระยะทางและการต่อรอง ติดต่อเช่าเรือได้ที่บริษัทนำเที่ยวแถวท่าเรือศาลาด่าน หรือติดต่อผ่านที่พัก

          โดยเรือ

          จากจังหวัดกระบี่เดินทางสู่เกาะลันตาโดยทางเรือ สามารถขึ้นเรือได้ที่ท่าเรือต่าง ๆ ดังนี้...

          ท่าเรือคลองจิหลาด อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ออกเวลา 11.00 น. ถึงเกาะลันตา เวลาประมาณ 13.00 น. ค่าโดยสารประมาณ 350 บาท

          ท่าเรืออ่าวต้นไทร (เกาะพีพี) ออกเวลา 08.00 น. ถึงเกาะลันตา เวลาประมาณ 09.30 น. ค่าโดยสารประมาณ 300 บาท

          ท่าเรือเกาะจำ (อำเภอเหนือคลอง) ออกเวลา 11.30 น. ถึงเกาะลันตา เวลาประมาณ 12.15 น. ค่าโดยสารประมาณ 250 บาท

          ท่าเรือหาดนพรัตน์ธารา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง ออกเวลา 10.30 น. ถึงเกาะลันตา เวลาประมาณ 12.45 น. ค่าโดยสารประมาณ 380 บาท

          สำหรับการเดินทางสู่เกาะไหง เกาะห้า เกาะรอก และหินแดง-หินม่วง เมื่อไปถึงเกาะลันตาใหญ่แล้ว สามารถเช่าเรือเอกชนได้จากท่าเรือบ้านศาลาด่าน หรืออีกเส้นทางหนึ่ง คือ จากหาดปากเมง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ส่วนการไปหินแดง-หินม่วง มีเรือที่ให้บริการดำน้ำลึกเท่านั้น

          หมายเหตุ : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตาประกาศปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในแหล่งท่อง เที่ยวของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา บริเวณเกาะรอก กองหินแดง-กองหินม่วง และเกาะห้า(ตุกนลิมา) ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 31 ตุลาคมของทุกปี